สิ่งที่เราไม่เข้าใจวันนี้ อาจเป็นสิ่งที่ลูกหลานเราจะขำว่า "แค่นี้ไม่รู้เหรอ" เรื่องดาวที่ไปเรียนที่ Mux มหิดล

 


เมื่อวานเราไปเรียนดาราศาสตร์กับ MUX ของมหิดลมาเว้ย สนุกฉิบหาย เรียนแล้วเหมือนสมองเปิด warp drive ไปชนขอบจักรวาลอะ มันมีเรื่องนึงที่โคตรจะเท่ และเราอยากเล่าให้ทุกคนฟัง คือ... มีผู้ชายคนนึงชื่อว่า เมอซิเยร์ (Charles Messier) เป็นนักดาราศาสตร์ยุคศตวรรษที่ 18 ที่แม่งอินกับการถ่ายภาพวัตถุบนท้องฟ้าแบบจริงจัง ชอบมาก ชนิดที่ว่าว่างเมื่อไหร่คือส่องกล้องแม่งทั้งคืนอะ แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่แค่ความอินนะ มันอยู่ตรงที่เมอซิเยร์เขาแม่งเจอวัตถุบนฟ้าที่ดูแปลกประหลาดฉิบหาย… เหมือนดาว แต่ไม่ใช่ดาว เหมือนเมฆ แต่ก็ไม่ลอยไปไหน เขาเลยเริ่มทำ “ลิสต์” เอาไว้ แบบ "อันนี้คืออะไรยังไม่รู้ แต่อย่ามารบกวนเวลาดูดาวหางของกู" ซึ่งทุกคนลองคิดดูนะวะ… สมัยนั้นกล้องก็ไม่ชัด วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่บูม การจะเห็นอะไรข้างบนฟ้าแล้วจดไว้แม่งต้องใจรักขนาดไหนวะ มันคือ passion ที่ยิ่งใหญ่กว่าการรอ flash sale 11.11 อีกอะ แต่ที่เด็ดคือ… หลายร้อยปีผ่านไป วันนี้ที่วิทยาศาสตร์เราแม่งพัฒนาโคตรไกล ไอ้วัตถุประหลาดๆ ที่เมอซิเยร์มันเคยจดไว้ว่า "ยังไม่รู้ว่าคืออะไร" ตอนนี้เรากลับไปดูอีกที… บางอันมันคือ กระจุกดาว ที่มีดาวเป็นพันล้านดวงรวมตัวกันเหมือนแก๊งค์เด็กแสบในจักรวาล บางอันคือ ซากซุปเปอร์โนวา ที่เกิดจากดาวระเบิดแบบปัง! แล้วฝุ่นก็กระจายออกมาเป็นหมอกควันแห่งความพินาศ บางอันเป็น กาแล็กซี ที่แม่งมีดาวเยอะกว่าความอดทนของเราตอนง่วงเรียนซะอีก เราแม่งทึ่งตรงนี้ คือ... สิ่งที่เราไม่เข้าใจวันนี้ อาจเป็นสิ่งที่ลูกหลานเราจะขำว่า "แค่นี้ไม่รู้เหรอ" ในอีก 200 ปีข้างหน้าก็ได้ เหมือนที่เมอซิเยร์อาจจะกำลังนั่งขำอยู่บนดาวดวงไหนซักดวงว่า "เฮ้ย พวกมึงเพิ่งรู้เหรอว่านั่นมันกาแล็กซี กูจดไว้ให้ตั้งแต่ปี 1700 แล้วนะเว้ย" เพราะงั้น ถ้าเราจะเข้าใจอะไรช้ากว่าคนอื่นบ้าง… ก็ช่างมันเถอะวะ ดวงดาวยังต้องใช้เวลาหลายล้านปีถึงจะเปล่งแสงมาถึงตาเราได้ ความเข้าใจของเราก็เหมือนกัน — ขอแค่ยังมองขึ้นฟ้าอยู่ ก็ยังไปต่อได้เหมือนกัน

อย่างที่บอกคือ เพิ่งเรียนดาราศาสตร์คอร์ส “ท้องฟ้าและดวงดาว” จาก MUX มหิดล ตอนแรกคิดว่าคงแค่ดูดาว ฟังเสียงลม แล้วร้องว่า “โอ๊ว นั่นดาวศุกร์!” แบบคนมีมารยาท แต่ความจริงคือ… ดาราศาสตร์แม่งไม่ใช่แค่เรื่องฟ้า แต่มันเหมือนกำลังถูกสอนให้ “เข้าใจความเวิ้งว้างของตัวเอง” จักรวาลมันใหญ่มาก ใหญ่จนปัญหาชีวิตบางอย่างที่เคยคิดว่าโลกจะแตก… พอซูมออกไป ก็แค่ฝุ่นก้อนนึง ที่นั่งร้องไห้อยู่บนหินเย็นๆ ชื่อว่าโลก ที่เรียนแล้วอินโคตร คือเรื่องของ ดาวบีเทลจุส ชื่อเหมือนคนแสดงหนังเวทีห้องม.3 แต่ความจริงคือดาวยักษ์แดงที่กำลังจะ “ตาย” ในแบบที่โคตรอลัง ถ้ามันระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาเมื่อไหร่ แสงจากมันจะสว่างพอจะมองเห็นได้กลางวัน โลกเราจะมีพระอาทิตย์สองดวง แบบไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์ Instagram แดดจะซ้อนแดด อารมณ์จะซ้อนแดด มึงจะซักผ้าไม่ได้ เพราะแห้งก่อนจะหย่อนลงกะละมัง แต่พีคคือ... ไม่มีใครรู้ว่ามันจะระเบิดเมื่อไหร่ เร็วๆ นี้ของดาราศาสตร์อาจจะหมายถึง... พรุ่งนี้ หรืออีก 100,000 ปี เหมือนคำว่า “เดี๋ยวกูตอบแชต” ที่ไม่มีใครรู้ว่า “เดี๋ยว” มันมาถึงเมื่อไหร่ ยัง ยังไม่หมด... อีกอย่างที่เราอินมากตอนเรียนคือเรื่อง "สามเหลี่ยมฤดูร้อน" กับ "สามเหลี่ยมฤดูหนาว" ตอนแรกนึกว่าจะเป็นเรื่องความรักของมุมเฉียงๆ ที่อบอุ่นกับหนาวเย็น แต่จริงๆ คือการเรียงตัวของดาว 3 ดวงใหญ่ในแต่ละฤดู ที่พอเราเงยหน้ามองฟ้าคืนใสๆ มันจะเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมสวยมาก เหมือนจักรวาลพยายามจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เราแบบไม่ต้องใช้แอพวาด แต่ที่โคตรมีเสน่ห์ คือ... มันจะปรากฏเฉพาะบางช่วงของปีเท่านั้น เหมือนบางคนในชีวิตเรา ที่แค่โผล่มาในฤดูนึง — แล้วหายไปเลย แล้วที่เรียนแล้วขำจนเกือบสำลักกาแฟอวกาศ คือเรื่องของ “โอไรออนกับดาวแมงป่อง” สองกลุ่มดาวนี้ เกลียดกันมาก ตามตำนานคือโอไรออนเป็นนายพรานขี้โม้ บอกว่าจะฆ่าสัตว์ให้หมดโลก เทพีไกอา (Gaia) — เทพีแห่งโลกผู้ปกป้องธรรมชาติ — ได้ยินแล้วแบบ “เออ งั้นมึงเจอแมงป่องไซส์ XL ไปละกัน” สุดท้ายทั้งโอไรออนกับแมงป่องแม่งโดนจับโยนขึ้นฟ้า แต่ที่เด็ดคือ... จักรวาลยังแยกให้พวกมันไม่ต้องเจอกันเลยนะ! โอไรออนจะขึ้นเฉพาะหน้าหนาว พอหมดฤดู ดาวแมงป่องถึงจะโผล่มาในหน้าร้อน เหมือนคนบางคู่ที่เคยรักกัน… แต่วันนี้แม่งแค่เห็นชื่อก็อยากปิดตา เลยต้องใช้ “ฤดูกาล” เป็นตัวคั่นใจ เธออยู่นั่น กูอยู่ตรงข้าม อย่ามาเจอกันอีกเลย บางคนถามว่า โอไรออนกับแมงป่องที่ไม่เคยขึ้นฟ้าพร้อมกันเลย มันเหมือนอะไรในชีวิตจริง? เราว่ามันคงเหมือน… ฟังก์ชันบล็อก (Piecewise Function) คือแม่งไม่ใช่แค่กราฟนะ มันคือนิยามความสัมพันธ์แบบ “เราอาจอยู่ในแกนเดียวกัน แต่แม่งมีเงื่อนไขคนละช่วง” ช่วง x น้อยกว่าศูนย์ = มึง ช่วง x มากกว่าศูนย์ = กู แต่ x เท่ากับศูนย์ = ไม่มีคำตอบ เราอาจอยู่ในโลกเดียวกัน แต่จักรวาล define มาแล้วว่า “พวกมึงอยู่พร้อมกันไม่ได้” เหมือนโอไรออนขึ้น… แมงป่องต้องลับ แมงป่องโผล่… โอไรออนต้องหาย ความสัมพันธ์แบบ function ที่แม่ง “ไม่ต่อเนื่อง” แต่แม่ง “ต่อใจ” เพราะงั้น บางความสัมพันธ์มันไม่ได้จบเพราะไม่รัก แต่มันแค่…อยู่ในช่วงนิยามคนละช่วงกัน คนละแกน คนละเวลา ถึงเส้นจะไม่ตัดกัน แต่กราฟก็ยังอยู่ใกล้กันเสมอ บางทีชีวิตเราก็ไม่ได้เจอฟังก์ชันบล็อกแค่ในคณิตศาสตร์ แต่แม่งเจอในชีวิตจริง… โดยเฉพาะในโซเชียล ฟังก์ชันบล็อกของโซเชียล คืออะไร? ก็คือฟังก์ชันที่มีเงื่อนไขว่า... ถ้าเคยคุยกันทุกวัน → วันนี้กูอ่านไม่ตอบ ถ้าเคยแชร์เพลงให้กัน → วันนี้มึงกลายเป็นแค่ชื่อที่ไม่มีไฮเปอร์ลิงก์ ถ้าเคยแท็กกันในทุกโพสต์ → วันนี้เจอชื่อมึงในรายชื่อ "บล็อกแล้ว" โซเชียลแม่งเหมือนสมการที่เขียนง่าย แต่ลบยาก จะ remove ก็กลัวหาย จะ block ก็กลัวใจบาง จะ archive ก็เสียดายความทรงจำ แต่จะ keep ไว้ ก็ไม่กล้าเปิดอ่าน บางคนก็เลยกลายเป็นแค่กราฟเส้นจางๆ ที่ถูกตัดออกจากโดเมน ไม่มีต่อเนื่อง ไม่มีค่าว่าง ไม่มีเหตุผล มีแค่ความรู้สึกที่แม่ง “ไม่เป็นฟังก์ชันอีกต่อไป” เพราะเราทุกคนต่างเคยเป็น x ในโดเมนของใครบางคน ก่อนจะถูก “บล็อก” อย่างสง่างาม พอเรียนเรื่องนี้แล้วจู่ๆ ก็รู้สึกเข้าใจคนบางคนในชีวิต ที่เคยเปล่งแสงในใจเรา... แต่วันนี้ไม่มีเขาอยู่แล้ว แสงของเขายังเดินทางอยู่ แม้ต้นทางจะไม่มีอีกแล้วก็ตาม บางคนที่เรารัก อาจจะหายไปจากวงโคจรเรา แต่สิ่งที่เขาทิ้งไว้ — มันยังสะท้อนอยู่ในระบบสุริยะเล็กๆ ชื่อว่า "ความทรงจำ" บางแสงแม่งเดินทางมาไกลมาก กว่าจะถึงตาเรา กว่าจะเข้าใจว่าแสงนั้นมาจากอะไร พอรู้... บางทีก็สายไปแล้ว ดาราศาสตร์มันเลยเหมือนการย้อนเวลา เหมือนการมองกลับไปยังช่วงที่เรายังไม่เข้าใจบางอย่าง และในวันนึง... พอเรา “โตพอ” ที่จะเข้าใจ สิ่งนั้นก็อาจกลายเป็นเพียงแค่ "จุดสว่างเล็กๆ ที่เอื้อมไม่ถึง" แต่เรื่องนี้มันก็ไม่ได้หม่นอย่างเดียว เพราะจักรวาลแม่งก็ขำเหมือนกัน พอเรียนเรื่องเมอซิเยร์ — นักดาราศาสตร์ที่จดรายชื่อวัตถุปริศนาบนฟ้า เหมือนการทำลิสต์ “ของแปลกที่กูยังไม่เข้าใจ” สุดท้ายหลายร้อยปีต่อมา… นักวิทย์รุ่นใหม่มานั่งดู แล้วบอก “อ๋อ อันนี้กระจุกดาว” “อันนี้กาแล็กซี” “อันนี้คือซากระเบิดของดาวอีกดวง” ก็เลยนึกได้ว่า… ทุกอย่างที่เราไม่เข้าใจวันนี้ วันนึง... อาจจะเข้าใจมันได้ ถ้าเรายังมีเวลามองย้อนกลับไป เหมือนบางคนที่เรายังไม่เข้าใจทำไมเขาทำแบบนั้น ทำไมเขาหายไป ทำไมเขาเย็นชา ทำไมเขาไม่บอกลา แต่วันนึง… บางทีเราจะหันกลับไป แล้วเข้าใจได้เอง แต่อาจจะไม่มีใครรอให้เราเข้าใจแล้วก็ได้ เพราะงั้น ถ้าวันนี้ยังเปล่งแสงได้ ยังพูดได้ ยังขอโทษได้ ยังรักได้ มึงรีบทำเถอะ ก่อนที่แสงของมึงจะต้องใช้เวลาเป็นล้านปี กว่าจะเดินทางไปถึงเขา — และเขาอาจจะไม่มีอยู่ตรงนั้นแล้ว

สมัยก่อน...

เราชอบผลงานน้องนักวาดคนนึงมาก วาดสวย เก่งมาก ชื่อน้องอะเมะ หรือ Amethyst ยุคนั้นยังไม่มี Instagram หรือเพจเฟซบุ๊กด้วยซ้ำ ทุกคนตั้งชื่อเว็บตัวเองแบบ “กรูจะยิ่งใหญ่ในกาแล็กซีนี้” น้องคนนั้นตั้งชื่อเว็บว่า proxima centauri เราแบบ โอ๊ยยย ชื่อนี้มันเท่ฉิบหาย… คล้ายๆ กับตั้งชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวว่า “ขอบฟ้าเรืองรอง” แล้วขายดีทุกชาม ตอนนั้นไม่รู้เลยว่า proxima centauri คืออะไร แค่รู้ว่าเท่ แล้วก็คือ "น้องวาดเก่งมากในยุคนั้น!" แต่หลังจากที่เพิ่งเรียนคอร์สดาราศาสตร์จาก MUX มหิดล (อีกแล้วจ้า วิชาดาว) เลยได้รู้ว่า…

Proxima Centauri คือดาวที่อยู่ใกล้โลกเราที่สุด ใกล้ขนาดว่า "หลังจากดวงอาทิตย์" ก็เป็นมันเลยแหละ แต่มันก็ยังอยู่ไกลประมาณ 4.2 ปีแสง แปลว่า… ถ้าเราส่งแชตไป “คิดถึงนะ” อีก 4.2 ปีเค้าจะเพิ่งเห็นข้อความนั้น อีก 4.2 ปีถัดไป เราถึงจะรู้ว่าเขาอ่านแล้วหรือยัง

(อันนี้ไม่รวม delay จากใจเขาที่อาจไม่ได้รู้สึกอะไรตั้งแต่แรก) คือแม่ง "ใกล้สุด" แล้วอะนะ แต่ก็ยังไกลอยู่ดี เหมือนบางคนที่เคยอยู่ในโลกของเรา วันนี้เขาอาจจะอยู่ “แค่แสงหนึ่งดวงในใจ” แต่ก็ไกลเกินจะเดินไปหาได้อยู่ดี

เราก็เลยนั่งทบทวนว่า บางชื่อที่เรารู้สึกว่า “เท่จังเลย” สมัยเด็ก พอวันนี้รู้ความหมาย มันไม่ใช่แค่เท่ แต่มันโคตร "เหงา" Proxima Centauri มันสว่างไม่มากนะ ตาเปล่ามองไม่เห็นด้วยซ้ำ มันอยู่ในกลุ่มดาว Centaurus แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักมันดีเท่ากลุ่มอื่น เหมือนบางคนในชีวิตเรา ที่เราเคยมองว่าเขา "เฉยๆ ไม่ได้เด่นอะไร"

แต่ตอนนี้… ไม่มีเขาแล้ว รู้สึกว่าท้องฟ้าแม่งขาดอะไรไป บางความสัมพันธ์แม่งก็เป็นแบบนั้น ใกล้สุด แต่เอื้อมไม่ถึง รู้ว่ามีอยู่ แต่โคตรเบลอ จนกระทั่งเราหายไปจากกัน แล้วค่อยกลับมารู้ว่า… เขาคือดาวที่ใกล้ที่สุดที่เราจะมีได้

ดาว Proxima มันไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวบนฟ้า มันมีดาวเคราะห์ที่โคจรรอบมันอยู่ ชื่อว่า Proxima b เป็นดาวเคราะห์ที่แบบ... เออ มี “ศักยภาพ” ที่จะอาศัยอยู่ได้ นักดาราศาสตร์ก็เลยตื่นเต้นกันใหญ่ ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิต หรืออะไรบางอย่างอยู่บนนั้น ฟังดูเหมือนโรแมนติกเนอะ เหมือนดาว Proxima มันมี "เพื่อนร่วมวงโคจร" ไม่ต้องเหงาอยู่ในความมืดคนเดียว แต่เดี๋ยวก่อน…

Proxima b ถึงจะอยู่ใกล้ดาวแม่แค่ไหน ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะมีชีวิตจริงๆ มันอาจจะร้อนจัด หนาวจัด หรือโดนรังสีแผดเผาจนไม่มีอะไรเติบโตได้เลย ก็เหมือนความสัมพันธ์บางอันนั่นแหละ ถึงจะอยู่ใกล้แค่ไหน อยู่ในวงโคจรเดียวกัน แต่แม่ง toxic จนอยู่ไม่ได้

ดาวทั้งคู่ยังอยู่ในกลุ่มดาวชื่อเท่ๆ ว่า Centaurus หรือถ้าแปลแบบบ้านๆ คือ “ครึ่งม้า ครึ่งคน” ฟังดูเหมือนหล่อเข้มมีความแฟนตาซี แต่ในเชิง myth ก็คือ… ตัวประหลาดชนิดหนึ่ง คือจักรวาลแม่งตั้งชื่อทุกอย่างให้ฟังดูดี แต่พอไปดูรายละเอียดคือ "อืม... อยู่ยากนะนั่น" บางทีโลกเราก็เหมือน Proxima b อยู่ใกล้แสงบางดวงมาก แต่ก็อยู่แบบเหนื่อยๆ เพราะแสงนั้นแม่งแรงเกินไป ห่างก็หนาว ใกล้ก็ไหม้

ความสัมพันธ์ก็เหมือนระบบดาว ไม่ได้วัดกันที่ “ใกล้แค่ไหน” แต่วัดกันที่ “อยู่แล้วเจริญ” หรือ “อยู่แล้วจะตาย” บางดวงอาจสวยมาก สว่างมาก แต่พอเข้าใกล้แม่ง... กลายเป็นซุปเปอร์โนวา บางดวงอาจจะมัวๆ มืดๆ แต่มึงหลับตาขอพรเงียบๆ… ก็สบายใจกว่าเยอะ สุดท้ายแล้ว ต่อให้จักรวาลกว้างขนาดไหน บางทีสิ่งที่เราตามหา อาจไม่ใช่ดาวเคราะห์นอกระบบ แต่อาจเป็นแค่ “ใครซักคน” ที่อยู่ในระบบเดียวกันกับใจเราก็พอแล้ว

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม