กรอบความคิดสร้างสรรค์: โหลสู่ทะเลศิลปะ



เชื่อป่ะว่า...ยิ่งเราเขียนเพลงไปเรื่อยๆ หูเราก็เหมือนโดนฝึกแบบไม่ได้ตั้งใจ เหมือนเล่นเกมอัปเลเวลอะ แต่เป็นเวอร์ชั่นที่ไม่มีใครมากดข้ามคัตซีนให้ได้—ต้องฟัง ต้องเขียน ต้องล้ม ต้องร้องว่า “เชี่ย เพลงกูเพี้ยน!” แล้วค่อยๆ กระเตื้องเองแบบเงียบๆ แรกๆ เพลงที่เราเคยชอบฟัง ฟังซ้ำวนไปเหมือนติดกาว พอวันหนึ่งเรากลับไปเปิดฟังอีกที กลับรู้สึกแปลกๆ เหมือนเปิดเฟซย้อนดูสเตตัสตัวเองตอนปี 2012 แล้วอยากจุดไฟเผาแผ่นดิน ไม่ใช่ว่ามันแย่นะ มันคือเพลงที่ดีในแบบที่มันเป็นนั่นแหละ แต่หูเราอัปเกรดไปแล้วไง เพลงเดิมเลยไม่อินเท่าเดิม บางทีมันก็แค่รู้สึกว่า…เฮ้ย ถ้าเป็นตอนนี้เราแต่งแบบนี้ดีกว่าเว้ย แบบนี้จะเพราะกว่า ร้องลื่นกว่า ท่อนนี้มันติดคอไปนะ ท่อนนั้นเนื้อร้องมันพอเข้าใจ แต่ยังไม่แทงใจ ที่หนักกว่าคือเพลงที่เราเคยแต่งเองด้วยความรัก ความบ้าพลังในตอนนั้น…กลายเป็นของที่ต้อง “รื้อ” ใหม่อะเว้ย รื้อแบบไม่ได้เกลียดมันนะ แต่เพราะหูเราดันยกระดับตัวเองโดยไม่ขอความเห็นจากเจ้าของร่างก่อน กลายเป็นว่า เพลงไหนไม่ eargasm ก็ไม่อยากทำต่อ ไม่อยากตัดเอ็มวี ไม่อยากส่งให้ใครฟังด้วยซ้ำ—เพราะเรายังไม่รู้สึก “ฟิน” กับมันเอง แล้วจะเอาอะไรไปขยี้ใจคนอื่นวะ? ทุกวันนี้เรากลายเป็นคนที่เขียนเพลงไปก็ต้องตั้งใจฟังตัวเองเหมือนกรรมการ MasterChef อะ เพลงไหนเข้าขั้น “ดีพอใช้” โดนเด้ง เพลงไหน “เกือบได้” ก็โดนรื้อจนเละ ถ้าไม่ โดน ใจ ถ้าไม่รู้สึกว่าร้องแล้วขนลุก หรือมีท่อนที่อยากฮัมซ้ำจนติดหัว กูไม่ไปต่อนะเว้ย เพราะความรู้สึกมันไม่หลอกอะ มันมีฟีลแบบ...อยากให้เพลงนี้เป็นเพลงที่เราอยากเปิดวนเองทั้งวันโดยไม่เบื่อก่อน ถึงจะมีสิทธิ์ให้คนอื่นฟัง สิ่งที่โหดร้ายคือมาตรฐานเราสูงขึ้นทุกวันแบบไม่มีเพดาน แต่ก็ดี เพราะมันคือสัญญาณว่าเราโตขึ้น หูเราโตขึ้น ใจเราโหดขึ้น และที่สำคัญ—เรากำลังอินกับเพลงที่เราทำมากขึ้นทุกที ใครเป็นแบบนี้บ้างวะ? ที่ยิ่งทำอะไรมากขึ้น ยิ่ง “เลือก” มากขึ้น ไม่ใช่เพราะหยิ่ง แต่เพราะรู้ว่าอะไรที่มัน ใช่ สำหรับตัวเองจริงๆ แล้วมันโคตรยากจะยอมให้เพลงไหนผ่านง่ายๆ โดยไม่รู้สึกอะไร แต่ก็เอาเหอะ…อย่างน้อยมันก็ทำให้เรารู้ว่า เพลงไหนที่เราทำแล้ว eargasm เองก่อน มันแม่งของจริงว่ะ

paradigm ของการทำงานศิลปะของคนเรา มันเติบโตได้จริงๆ จาก ขนาดของภาชนะที่ครอบเขาอยู่ นี่ไม่ใช่คำเปรียบเทียบสวยๆ ให้ดูฉลาดเล่นๆ แต่มันคือเรื่องจริงที่เห็นได้ทุกวัน โดยไม่ต้องไปเรียนครูศิลป์หรือจบศิลปะจิตวิญญาณสายลึกอะไรเลย ก่อนอื่นเลย...paradigm คือกรอบความเข้าใจของเราอะ มันคือเลนส์ที่เราใช้มองโลก เวลาเราคิดอะไร ทำอะไร หรือสร้างอะไร มันก็จะผ่านกรอบนี้แหละ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ทีนี้ลองนึกภาพว่า...ถ้ามีคนๆ หนึ่งโตมาในกรอบแคบๆ รู้จักแค่ไม่กี่แนวทาง ไม่เคยออกจาก safe zone ไม่เคยเจอวัฒนธรรมอื่น ไม่รู้ว่าโลกรอบตัวมันโคตรกว้างขนาดไหน สิ่งที่เขาสร้าง—ต่อให้ตั้งใจแค่ไหน มันก็จะใหญ่ได้ไม่เกิน “ขนาดของกรอบ” ที่เขาอยู่ เหมือนปลาทองว่ายอยู่ในโหลอะ มันจะว่ายยังไงก็ไม่เกินรัศมีวงกลมนั้น ถ้าอยากให้มันว่ายได้ไกลขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนโหล เปลี่ยนเป็นตู้ เปลี่ยนเป็นบ่อ จนถึงขั้นโยนลงทะเล ซึ่งในโลกของงานศิลปะ “โหล” นั้นก็คือ ความรู้ด้านอื่นๆ ที่เรามีอยู่ในหัวนี่แหละ ยิ่งเรารู้มากขึ้น รู้เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศิลปะตรงๆ อย่างจิตวิทยา สถาปัตยกรรม การเมือง ปรัชญา วรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ อย่างประวัติศาสตร์ของขนมครก—แม่งก็กลายเป็น “ขอบฟ้าใหม่” ที่ทำให้เราเห็นอะไรในมุมที่คนอื่นไม่เห็น และนั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของงานศิลปะที่พิเศษกว่าคนอื่น เคยมั้ย แบบว่าวันหนึ่งที่เราหยิบแปรงมาวาดรูป หรือเขียนเพลง หรือถ่ายภาพ แล้วอยู่ดีๆ ก็ “เห็น” วิธีใหม่ที่ไม่เคยคิดออกมาก่อน ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นมันอยู่ตรงหน้าเรามาตลอด แต่อยู่ดีๆ ก็มองมันออกในแบบที่ลึกกว่า...อันนี้แหละ คือผลของการที่ “ภาชนะ” ขยาย คนบางคนไม่ได้ตัน เพราะไม่มีพรสวรรค์ แต่เพราะเขาถูกครอบด้วยกรอบที่ไม่มีใครสอนให้เขาคิดนอกมันได้ ดังนั้นถ้าวันนี้ใครรู้สึกว่าเราทำงานศิลปะซ้ำไปซ้ำมา ไม่ไปไหนซักที มันอาจจะไม่ใช่เพราะฝีมือเราไม่ถึง แต่อาจเป็นเพราะ “โหลที่ครอบเราอยู่มันเล็กเกินไป” ลองเรียนรู้เรื่องที่คิดว่าไม่เกี่ยวบ้าง ลองเปลี่ยนวงจรของสิ่งที่เสพ ลองอ่านหนังสือที่เคยเมิน ลองฟังคนที่เราไม่เห็นด้วย ลองเล่นกับความไม่คุ้นเคยดู ไม่แน่ วันหนึ่งเราจะโตจนลืมไปเลยว่าเราเคยถูกครอบด้วยอะไรมาก่อน เชื่อป่ะ...หูคนเราโตได้นะ ตาม paradigm นั่นแหละ ไม่ใช่แบบมีติ่งยาวขึ้นนะเว้ย แต่แบบที่จู่ๆ วันหนึ่งกลับไปฟังเพลงที่เคยแต่งไว้ แล้วร้อง "เชี่ย...นี่กูเคยภูมิใจกับท่อนนี้จริงดิ?" มันไม่ได้แย่นะ แค่รู้สึกเหมือนเจอไดอารี่ตอน ม.2 ที่เขียนไว้ว่า "ถ้าเธอคือฝน ฉันก็คงเป็นร่ม...ที่เปียกตาม" อะไรแบบนั้น คือในตอนนั้นมันอาจจะลึกซึ้งจนขนลุก แต่ตอนนี้คืออยากมุดเตียงแล้วเอาเสียงในหัวไปรีมิกซ์ใหม่หมด เพราะอะไร? เพราะหูเราแม่งอัพเกรดไปเรื่อยๆ แบบไม่มีปุ่ม pause พอทำเพลงไปเรื่อยๆ มาตรฐานตัวเองมันจะโหดขึ้นแบบเงียบๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย จู่ๆ ก็กลายเป็นคนที่พอฟังท่อนฮุกแล้วไม่ eargasm ก็ไม่อยากทำต่ออะ ไม่อิน ไม่อัด ไม่ตัด ไม่โพสต์ ไม่อะไรทั้งนั้น เหมือนใจเรากลายเป็นกรรมการ The Voice เวอร์ชันที่ไม่มีเก้าอี้หันกลับ “ต้องชอบเองก่อน” คือ rule ที่ไม่ได้ตั้งไว้ แต่กลายเป็นหลักศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว ถ้ากูยังไม่สะท้านใจกับเมโลดี้ของตัวเอง ก็ไม่อยากให้ใครต้องมาเจ็บหูไปด้วยอะไรงี้ ตรงนี้เองที่มันโยงเข้าเรื่องใหญ่ที่คนไม่ค่อยพูดกันตรงๆ ว่า..."การทำงานศิลปะมันไม่เคยอยู่นิ่ง และมันไม่ได้โตแค่จากประสบการณ์ตรง แต่โตจาก 'ขนาดของกรอบความเข้าใจ' ที่เรามีด้วย" หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "paradigm" อย่างที่บอก paradigm คือเลนส์ คือโลกทัศน์ คือโหลที่เราว่ายวนอยู่ในนั้น ใครว่ายนานในโหลแคบๆ ก็อาจว่ายเก่งขึ้นนะ แต่จะไม่มีวันเห็นฝูงโลมา คนที่โตในวงการเดิมๆ อยู่กับ mindset แบบเดิมๆ ฟังเพลงแบบเดิมๆ มันจะมีจุดหนึ่งที่เราจะรู้สึกว่าทำไมเราตัน ทำไมเราซ้ำ ทำไมเราไม่ตื่นเต้นกับงานตัวเอง คำตอบมันโคตรง่าย: กรอบมันเล็ก แล้วไอ้กรอบนี่แหละ ที่เป็นตัวขวางศิลปะที่สุดเลย เพราะแม่งไม่บอกเราด้วยนะว่ากำลังขวางอยู่ มันแค่ทำให้เราคิดว่า "กูเก่งแล้ว" หรือ "ของแบบนี้ต้องทำแบบนี้ดิ" จนวันหนึ่ง…มีบางอย่าง “นอกกรอบ” โผล่มา เช่น เอไอ อันนี้โคตรฮา คือในขณะที่ทั้งโลกกำลังตื่นเต้นกับ AI วงการศิลปะบางมุมกลับทำหน้าเหมือนเจอแมลงสาบในถังสี พีคกว่านั้นคือแอนตี้กันยับ ไม่ใช่เพราะมันเลวร้าย แต่เพราะ...แม่งอยู่นอก paradigm ว่ะ เอไอไม่ได้ผ่านการนั่งคิดเพลงหน้าส้วม ไม่ได้ผ่านการวาดภาพด้วยหัวใจพังๆ มันไม่ได้ร้องไห้กับเสียงคอร์ด Am ที่คนอื่นว่าเฉยแต่มันดันแทงใจ มันก็แค่...รันคำสั่ง แล้วก็ "ออกมา" และนั่นแหละที่น่ากลัว เพราะมัน “ทำได้” โดยที่ไม่ “รู้สึก” แล้วพวกเราที่โตมากับความเชื่อว่า ศิลปะต้องมีวิญญาณ ก็เลยรู้สึกเหมือนโดนหลอกแดกวิญญาณอยู่เงียบๆ แต่เอาจริง—ความกลัวนี่ก็สมเหตุสมผลนะ คนเรามักแอนตี้ในสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือควบคุมไม่ได้ เราไม่ได้เกลียดมันหรอก เราแค่กลัวว่าเราไม่มีที่ยืนในโลกที่มันอยู่ แต่...ถ้าเรายอมรับตรงๆ ว่าเรายังไม่เข้าใจ แล้วลองเรียนรู้มันแบบไม่ด่วนสรุป มันอาจจะไม่ใช่ศัตรูก็ได้ มันอาจเป็นแค่ “เครื่องมือใหม่” ที่โผล่มากระตุกกรอบเราให้ขยาย เพราะสุดท้ายแล้ว—ศิลปะมันไม่ใช่เรื่องของมืออย่างเดียว แต่มันคือการ “เข้าใจโลกให้ลึกพอ” จนสามารถแปลความหมายของมันออกมาเป็นอะไรก็ได้ จะผ่านไม้พู่กัน นิ้วเปียโน หรือแม้แต่บรรทัดโค้ด ถ้าเรารู้จักมันดีพอ ไม่ว่าอะไรจะมา มันก็อยู่ในมือเราได้หมด และไม่ว่าเราจะใช้ AI หรือใช้หัวใจล้วน ก็ต้องใช้ gut feeling วัดใจงานตัวเองได้ก่อน ชอบไม่ชอบ —ไม่งั้นไม่รอดอยู่ดี

เหตุผลที่คนทำเพลงยังไม่เก่ง อาจไม่ใช่เพราะขาดพรสวรรค์ แต่เพราะภาชนะที่ครอบความคิดยังเล็กเกินไป หลายคนเข้าใจว่า “การทำเพลงให้เก่งขึ้น” คือเรื่องของการฝึกฝน ฟังเยอะ ทำบ่อย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่เชื่อไหมว่า...สิ่งที่แอบสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ขนาดของ "กรอบความเข้าใจ" ที่เรามีต่อโลกใบนี้ หรือที่เรียกกันว่า paradigm paradigm ก็คือวิธีที่เราใช้มองโลก เป็นเหมือนกรอบความคิดที่เราเอาไว้กรองทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในหัว คนที่เติบโตมาในกรอบเล็กๆ เข้าใจเฉพาะเรื่องที่เคยเจอ จะมีชุดคำอธิบายต่อโลกอยู่แค่ไม่กี่แบบ พอเขียนเพลงออกมา มันก็จะวนอยู่กับประสบการณ์เดิมๆ อารมณ์เดิมๆ คำเปรียบเทียบเดิมๆ แบบที่คนฟังรู้สึกว่า “เคยได้ยินมาแล้ว” ในทางกลับกัน คนที่มีความรู้รอบตัวหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ จะมีคลังแนวคิดที่ลึกกว่า กว้างกว่า และแปลกใหม่กว่า พอหยิบมาเขียนเพลง ความคิดที่ได้จึงไม่ใช่แค่การเล่าเรื่อง แต่เป็น “การตีความโลก” ในแบบที่คนอื่นคาดไม่ถึง ตัวอย่างง่ายๆ คือ บางคนแต่งเพลงเศร้า = พูดถึงฝน อีกคนแต่งเพลงเศร้า = อธิบายเรื่องคลื่นสมองกับภาวะการรับรู้ความเจ็บปวด ต่างกันแค่ใครรู้มากกว่ากัน แล้วเลือกเล่าด้วยน้ำเสียงแบบไหน ความรู้ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยสำหรับศิลปิน มันคือวัตถุดิบที่เปลี่ยนเพลงธรรมดา ให้กลายเป็นเพลงที่ “มีชั้นเชิง” ไม่ใช่แค่เพราะหู แต่กระทบใจ กระทบสมอง และอยู่ในหัวคนฟังได้นาน สรุปง่ายๆ คือ ความคมของการทำเพลง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคอร์ด แต่อยู่ที่มุมมองที่เรามีต่อโลก และมุมมองนั้นกว้างได้ตาม "สิ่งที่เรารู้" เพราะฉะนั้น... อยากเขียนเพลงให้ดีขึ้น อย่าแค่ฟังเพลงเยอะ ลองเปิดหนังสือ เปิดพอดแคสต์ พูดคุยกับคนหลากหลายวงการ เมื่อความเข้าใจเราโตขึ้น paradigm ก็จะใหญ่ขึ้น และวันหนึ่ง...เราจะเขียนเพลงที่สะท้อนโลกได้กว้างขึ้น ลึกขึ้น และจริงขึ้น


เคยได้ยินมั้ยว่าสมัยก่อน คนเราเคยเชื่อว่าโลกแบน เพราะมองจากพื้นดินขึ้นไป ท้องฟ้ามันเหมือนวงกลมที่ครอบอยู่จริงๆ ไม่มีใครเห็นอีกด้านของโลก ก็เลยสรุปว่า “เออ มันคงมีแค่นี้แหละ” จนกระทั่ง...มนุษย์เริ่ม “รู้มากขึ้น” โลกถึงเริ่ม “กว้างขึ้น”

paradigm ของคนก็เป็นแบบนั้นเลยทุกคน คือเหมือนโดมใสๆ ที่ครอบหัวเราอยู่ ไม่ใช่กำแพง แต่เป็นกรอบความเข้าใจที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันกำลังจำกัดเราอยู่ เคยเงยหน้ามองท้องฟ้าไหมทุกคน? มันกว้างใช่มะ แต่ถ้าสังเกตดีๆ มันเหมือนเป็น "โดมครึ่งวงกลม" ที่โค้งครอบโลกเราอยู่ ไม่ว่าจะยืนมุมไหนของโลก มันก็ยังโค้ง ไม่เคยแบน ไม่เคยเหลี่ยม ไม่เคยเว้า อันนี้แหละ คือภาพแรกๆ ที่มนุษย์ใช้ "ตีกรอบความเข้าใจ" ต่อโลก คิดว่าโลกแบน เพราะฟ้ามันเป็นโค้ง คิดว่าเราคือศูนย์กลาง เพราะมองไปทางไหนก็เจอฟ้า

แต่ทั้งหมดนั้น…มันคือความเข้าใจที่อยู่ "ในโดม" เราขอเรียกโดมนั้นว่า "paradigm" paradigm คือกรอบความคิดที่เราคุ้นชิน ไม่ได้หมายความว่าผิด แต่มันจำกัด คือเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราถูกครอบอยู่ จนกระทั่งวันนึงมีอะไรมากระแทกแบบ “ตุ้บ!” แล้วเราถึงรู้ว่า

อ้าวเห้ย…โลกมันไม่แบนเว้ย มันกลม

ในวงการศิลปะ หรือสายครีเอทีฟทุกแขนง ไม่ว่าจะทำเพลง วาดรูป หรือออกแบบ “โดม” ที่เรายืนอยู่ บางทีมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือเลย แต่มันขึ้นอยู่กับ “ขนาดของความรู้ที่เรามี” เราเองเรียนมาหลายสาย วิทยาศาสตร์บ้าง สถาปัตย์บ้าง

เลยเริ่มชินกับการมี "พล็อตท้องฟ้าใหม่ๆ" โผล่มาในหัวบ้าง เช่น เวลาทำงานวาดรูป เราไม่ได้ซีเรียสต้องวาดทุกเส้นเอง เพราะเรารู้ว่า สิ่งสำคัญจริงๆ คือ แนวคิดในภาพ ไม่ใช่แค่เทคนิค คนที่เก่งวาดหลายคนจะเข้าใจฟอร์ม เข้าใจแสง แต่งานมันจะลึกก็ต่อเมื่อเขาเข้าใจว่า ภาพนี้มันกำลังสื่ออะไร ซึ่งสิ่งนั้นไม่ได้หาได้จากการฝึกอย่างเดียว

แต่มันมาจาก "ประสบการณ์และความรู้ที่อยู่นอกโดม" เวลาเราทำเพลง วาดรูป หรือออกแบบอะไรสักอย่าง ถ้าทำไปทำมาแล้วรู้สึกว่ามันตัน คิดอะไรไม่ออก ไม่ใช่เพราะไม่เก่งนะ แต่เป็นเพราะโดมที่ครอบความคิดของเรายังแคบไป แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้โดมนั้นมันกว้างขึ้น? คำตอบคือ:

"ความรู้ที่อยู่นอกวงการของตัวเอง" เราเองเรียนวิทยาศาสตร์มาก่อน แล้วมาทางสถาปัตย์ ก็เลยชินกับการคิดเป็นระบบ แต่ก็เปิดกับความรู้ใหม่ๆ ในการออกแบบ บางทีไม่จำเป็นต้องวาดเองทุกเส้น เพราะสิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ "แนวคิด" ที่ทำให้งานมีมิติ ไม่ใช่แค่เส้นสวย การวาดรูปก็เหมือนกัน

หลายคนเก่งเรื่องเทคนิค—ลงแสง ลงเงาแบบเป๊ะเว่อร์ แต่สิ่งที่ทำให้ภาพหนึ่ง “พูดกับคนดูได้” คือแนวคิดที่อยู่ข้างใน ไม่ใช่แค่ความเนียนของพู่กัน การทำเพลงก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่หาท่อนฮุกติดหู

แต่มันคือการเอา "สิ่งที่เราเข้าใจในโลก" มาย่อยให้คนอื่นเข้าใจตาม และความเข้าใจพวกนั้น มันไม่ได้มาจากการซ้อมหรือฝึกเทคนิคอย่างเดียว แต่มาจากการรู้จักโลกให้กว้างขึ้น ผ่านหนังสือ ผ่านคน ผ่านประสบการณ์ พูดถึงเรื่อง AI หน่อย ที่หลายคนแอนตี้ ไม่ใช่เพราะมันเลวร้ายอะไร แต่มัน “นอกโดม”

เราไม่เคยใช้ ไม่เข้าใจ มันก็เลยรู้สึกแปลกแยกและน่ากลัวไปก่อน แต่กับเรา ซึ่งอยู่ในวงการที่เครื่องมือเปลี่ยนตลอดเวลา AI ก็เหมือนกับพู่กันใหม่, โปรแกรมใหม่, หรือ CAD ที่เข้ามาในวงการ เครื่องมือเปลี่ยนได้ แต่สิ่งที่ไม่ควรเปลี่ยนคือ "แนวคิด" ถ้าเรามีของในหัว ต่อให้เครื่องมือใหม่แค่ไหน ก็แค่เปลี่ยนวิธีสื่อสาร แต่ถ้าไม่มีอะไรในหัวเลย ต่อให้ใช้ AI ก็ไม่มีอะไรน่าสื่อสารอยู่ดี สรุปง่ายๆ แบบไม่ต้องอ้อมเลยคือ:

– อยากเก่งเรื่องศิลปะ อย่าอยู่แต่ในห้องวาดหรือห้องซ้อม – ลองอ่านหนังสือ ฟังสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับวงการตัวเองบ้าง – รู้จักโลกให้กว้างขึ้น โดมจะได้ขยาย – แล้วสุดท้ายผลงานของเราจะลึกขึ้น พูดได้มากขึ้น และอยู่ในใจคนได้นานขึ้น เพราะเมื่อโดมที่ครอบเราโตขึ้น เราจะเห็นว่า...โลกไม่ได้จบที่เส้นขอบฟ้า และศิลปะดีๆ ไม่ได้จบที่ “ความสวย” แต่มันเริ่มจาก “ความเข้าใจ” ต่างหาก

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม